วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ชื่อโครงงาน : สื่อการเรียนการสอนเรื่องหินและแร่ ในหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 2


สมาชิก : 1.นายสมเจตน์  ประจบ     เลขที่ 6
        2.นายเอกชัย   แพวขุนทด  เลขที่ 10

ที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์โอภาส  ศิริครรชิตถาวร

บทนำ
บทที่ 1

1.1           หลักการและเหตุผล
         บนพื้นผิวโลกมีดินปกคลุมอยู่เป็นชั้นบางๆ และจากการศึกษาผิวและหน้าตัดดินพบว่าส่วนประกอบที่เป็นของแข็งในดินส่วนใหญ่จะเป็นหิน กรวด และทราย ใต้ชั้นดินลงไปจะเป็นชั้นดินแข็งของพื้นผิวโลกที่ประกอบด้วนหินและแร่ หินเป็นวัสดุธรรมชาติที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่ในถ้ำ และตามเพิงผาธรรมชาติ โดยกะเทาะหินให้มีเหลี่ยมคมเพื่อใช้เป็นอาวุธ และใช้หินขัดถูกันให้เกิดประกายไฟเพื่อใช้ในการก่อไฟ จึงเรียกมนุษย์ในสมัยนั้นว่า มนุษย์ยุคหิน ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นได้นำหินมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคาร บ้านเรือน ตลอดจนดัดแปลงทำเครื่องใช้ และหินแกรนิตอ่อนปูพื้นบ้าน ตกแต่งอาคารใช้หินทรายและหินดาน มนุษย์รู้จักนำทรัพยากรของโลกมาใช้ต่างๆ ตั้งแต่อดีตกาล โดยมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้นขึ้นมาเป็นลำดับตามความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพยากรอย่างหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคือ แร่
         และด้วยความสำคัญของหินและแร่ได้มีการนำเรื่องหินและแร่มาเรียนในหลักสูตรมัธยมเพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
          จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นผู้จัดทำได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่องหินและแร่ ในหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 2ในเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหินและแร่ใกล้ตัวมากขึ้นเนื่องจากการศึกษาในปัจจุบันในหลักสูตรทั่วไปไม่มีการสอนเรื่องหินและแร่แบบเจาะลึก จึงได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่อง หินและแร่ในหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นสื่อที่มีลักษณะที่มีการศึกษาของการเจาะลึกโดยจะเริ่มตั้งแต่ชนิดของหินและแร่บนพื้นผิวโลก ชั้นแต่ละชั้นเป็นอย่างไร เป็นหินแร่แบบไหน และแหล่งที่มามาจากที่ไหน พบมากที่ใด และสามารถใช้ประโยชน์หรือแปลรูปเป็นอะไรได้บ้างเพื่อให้รู้และได้เข้าใจถึงลักษณะของหินและแร่ต่างๆหลักในสูตรวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมและช่วยในการเรียนการสอนของผู้สอนได้

วัตถุประสงค์ของอนุปริญญานิพนธ์
         1.2.1    เพื่อให้ประชากรมนุษย์รู้จะแร่ธาตุมากขึ้น
1.2.2           เพื่อให้มีความเข้าใจในแร่ธาตุ
1.2.3           เพื่อให้รู้ทันถึงแร่ธาตุอันตรายใกล้ตัวเรา
1.3    ขอบเขตของอนุปริญญานิพนธ์
1.3.1**อธิบายคุณสมบัติของหินและแร่
1.3.1.1    หินแกรนิต
1.3.1.2    หินอ่อน
1.3.1.3    หินกรวดมน
1.3.1.4    หินกรวดเหลี่ยม
1.3.1.5    หินทราย
1.3.1.6    หินไนส์
1.3.1.7    หินชนวน
1.3.1.8    หินปูน
1.3.1.9    หินวอร์ไซต์
1.3.1.10  หินบะซอลต์
1.3.1.11   แร่ตะกั่ว
1.3.1.12   แร่ทองแดง
1.3.1.13   แร่เหล็ก
1.3.1.14   แร่ดีบุก
1.3.1.15   แร่ทอง
1.3.1.16   แร่โลหะ
1.3.1.17   แร่สังกระสี
1.3.1.18   แร่ยิปซัม
1.3.1.19   แร่แทนทาลัม
1.3.1.20   แร่ฟลูออไรต์
        1.3.2  เมนูไปขุดแร่กัน
1.3.2.1  แหล่งที่มาของหินและแร่
1.3.2.2  ลักษณะของแร่และหิน
1.3.2.3  ประโยชน์ที่นำไปใช้
         1.3.3  เมนูไปขุดหินกัน
        1.3.3.1  แหล่งที่มาของหินและแร่
        1.3.3.2  ลักษณะของแร่และหิน
        1.3.3.3  ประโยชน์ที่นำไปใช้
        1.3.4  แบบทดสอบ
1.4    เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการนำเสนอ
         1.4.1   อะโดบี้เฟรช ซีเอสโฟร์ โปรเฟสชันเนล (Adobe Flash CS4 Professional)
         1.4.2   อะโดบี้โฟโต้ช๊อบ ซีเอสโฟร์ (Adobe Photoshop CS4)
1.5  ประโยชน์ที่ได้รับ
1.5.1  นักเรียนนักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจสามารถนำความรู้เรื่องหินและแร่นี้ไปศึกษาและงานใช้ได้
1.5.2  เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรู้แร่ธาตุใกล้ตัวมากขึ้น
1.5.3  เพื่อให้รู้คุณสมบัติของแร่ธาตุแต่ละชนิด
1.5.4  มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ แร่ธาตุ ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะใช้ประโยชน์มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น